Wednesday, March 14, 2007

Channel Technology

Channel
channel รับ stream จาก converter แล้วส่งไปยังปลายทาง เช่น ระบบเครือข่าย,ไฟล์ เป็นต้น คุณอาจเรียก channel ว่าเป็น output ก็ได้ ในปัจจุบันมี channel ที่รองรับอยู่ 2 ชนิด คือ network และfile หมายเหตุ ในตอนนี้ VLS สามารถรองรับเพียง 1 output ต่อ stream ทำให้คุณไม่สามารถใช้ stream บนระบบเครือข่ายไปพร้อมๆกับการเขียนลงไปในไฟล์ได้ network output มีการปรับแต่งค่าที่มากกว่า กล่าวคือคุณสามารถเลือกว่าส่วนติดต่อที่คุณต้องการใช้และสามารถระบุหมายเลขไอพีของต้นทางและปลายทางได้

ATM ในด้านโทรคมนาคมมาจากคำว่า Asynchronous Transfer Mode เป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยการจัดการด้านการขนส่ง (tATM เป็นเทคโนโลยี "การถ่ายทอดเซล" หรือ "cell relay" technology
ATM หมายถึงทราฟฟิกที่มีการขนส่งแพ็กเกตที่มีความยาวคงที่ขนาดเล็กซึ่งเรียกกันว่า เซล โดยมีขนาดเป็น 53 ไบต์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัวหรือ header ขนาด 5 ไบต์ และส่วนข้อมูลหรือ payload 48 ไบต์ เซลที่มีความยาวคงที่มีข้อดีกว่าเทคโนโลยีแพ็กเกตสมัยก่อน
ข้อดี คือ เซลขนาดสั้นสามารถจะสับเปลี่ยนช่องทาง (swihtced) โดยใช้ฮาร์ดแวร์ได้ จึงทำให้ ATM สามารถถูกสวิทช์ (สับเปลี่ยนช่องทาง) ได้อย่างรวดเร็ว การหน่วงของการจัดคิว (queueing delays) ที่ยาว (เกิดจากเฟรมที่มีขนาดแปรเปลี่ยนได้) สามารถจะลด wait time ลงได้ด้วยรูปแบบเซลขนาด 53 ไบต์ อันซึ่งจะทำให้สามารถขนส่ง voice และ video ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันแบบ realtime (time-dependant) ได้
Time Domain Multiplexing

ระบบ TDM(ถ้าจัดให้เป็นโหมดของการส่งก็จะเป็น Synchronous Transfer Mode หรือ STM)เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth)ซี่งจะใช้งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีทราฟฟิกเป็นแบบ bursty traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คือ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน) แล้วจะสิ้นเปลืองทรัพยาการเครือข่ายเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการจัดลำดับชั้นของแบนด์วิดธ์ก็หยาบมาก อย่างมาตรฐานของยุโรปก็มีระดับของการมัลติเพล็กซ์เป็น 2.048, 8.448, 34.368 M เป็นต้น ถ้าต้องการใช้งานกับการเชื่อมต่อแบบ Ethenet-to-Ethernet ซึ่งเป็นสัญญาณแบบ burst ขนาด 10 M จะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงคือต้องเช่าแบนด์วิดธ์ขนาด 34 M (dedicated 34 M)

Packet Switching
เทคโนโลยีการส่งผ่านแบบแพ็กเกต เป็นการมัลติเพล็กซ์ของเฟรมบน transport medium ในเชิงสถิติ โดยเป็นเทคโนโลยีที่ดีสำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ burst ที่อัตราของบิตมีการเปลียนแปลง (Variable Bit Rate : VBR) แต่สำหรับ voice และ video ซึ่งมีอัตราบิตคงที่ ถ้าส่งผ่าน Packet Swicthing สามารถจะทำให้เกิดการหน่วงชนิดคงที่ (fixed delay) ค่อนข้างมาก พร้อมกับการหน่วงของการจัดคิวที่ไม่แน่นอน (uncertain queueing delays)

ระบบ TDM ที่ได้กล่าวมาได้ถูกออกแบบมาสำหรับ voice transport และใช้งานได้ผลไม่ดีนักสำหรับ data transport ส่วน Packet Switch ก็ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ data transport และยังมีความสามารถอยู่บ้าง (less capable) สำหรับการขนส่งข้อมูลแบบ CBR

ATM Cells
Looking at ATM from the Inside-Out
เราได้อธิบายเรื่อง ATM ด้วยภาพไปสองสามประเด็นแล้ว ถึงตอนนี้เราก็มาดูให้ลึกลงไปอีก แบบที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า from the inside-out คือมองจากด้านในออกไปข้างนอก ซึ่งมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ใช้แบ่งแยก ATM อย่างแม่นยำคือเซล แต่ละฟิลด์ของ cell header จะนำเราไปสู่ความเข้าใจเรื่องการขนส่งเซลและการ switching ของเซล


VPIs/VCIs คือ ฟิลด์ VPI และฟิลด์ VCI ซึ่งบรรจุด้วย Virtual Path Identifier และ Virtual Channel Identifier ตามลำดับ เหตุที่ Path และ Channel เป็น Virtual ก็เพราะเครือข่าย ATM ให้บริการเป็น transport และ switching ที่สามารถจำลองเป็น TDM Constant bit rate channel และ Packet Switched Variable Bit Rate Channel ได้ โดย Path และ Channel จะถูกแยกออกจากกันเพราะเครือข่าย ATM จะให้บริการสำหรับการ switching เป็นสองวิธีคือ Channel จะขนส่ง customer data ในขณะที่ Path จะขนส่ง group of channel โดย customer รายหนึ่ง ๆ สามารถเชื่อมโยง (channel) ระหว่างสอง fixed site ภายใน sigle path ได้ ซึ่งจะยอมให้เครือข่าย ATM ไม่สนใจจำนวนมากมายของ channel ดังนั้นจึงทำให้เป็บบริการที่ใช้ต้นทุนต่ำ ในรูปข้างล่างเป็น DS3 ATM Transport ที่แสดงความสัมพันธ์ของ DS3 transport pipe, DS3 framing, PLCP framing, VPIs, และ VCIs

VPI/VCI Switching การสวิทชิ่งของ ATM จะกระทำระหว่างเส้นทางของ incoming VPI/VCIs กับ outgoing VPI/VCIs ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ตารางเร้าติ้งทางฮาร์ดแวร์ (hardware-based lookup table) โดย incoming cell จะมีค่า VPI/VCIs ของมันเองที่ถูกเขียนทับด้วยค่าใหม่ แล้วเซลก็จะถูกจัดเส้นทาง (routed) ไปยังพอร์ดเอาท์พุทตามที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นว่า VPI/VCIs มีลักษณะสำคัญทางโลคอล (local significance) เท่านั้น เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลง VCI/VPIs ที่แต่ละ switch point ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ customer's data ไปถึงปลายทางได้ ? เครือข่าย ATM ในยุดก่อนนั้น virtual paths และ channels จะเป็นแบบถาวร (Permanent Virtual Channels or PVCs) โดย PVC จะถูกสร้างขึ้นในกระบวนการการจัดหา (provisioning process) ที่ประกอบด้วยการแก้ไข routing table ของแต่ละ ATM Switch ใน data path ที่บริการการเชื่อมต่อตามที่ต้องการ เครือข่าย ATM ในยุคหลังจะใช้กระบวนการสัญญาณเรียกขาน (signaling procedures) ในการสร้าง Switched Virtual Channel หรือ SVCs ที่สามารถ set up หรือ taken down เมื่อต้องการ ไม่ว่าจะเป็น PVC หรือ SVC ส่วนของ ATM channel ทั้งหมดจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ connection oriented ซึ่งหมายถึงว่า "connection" จะต้องถูกสร้าง (สถาปนา) ในเครือข่าย ATM ขึ้นมาก่อนจึงจะส่งข้อมูลได้

Header Error Control เซลส่วนหัวของเอทีเอ็ม (ATM cell header) ถูกสร้างขึ้นอย่างเอาจริงเอาจังสุด ๆ (extremely robust) เพื่อใช้สำหรับการขนส่งโดยฟิลด์ Header Error Control (หรือ HEC) ฟิลด์นี้จะเป็น 8 บิต ที่ทำหน้าที่ checksum สำหรับส่วนหัวอีก 4 ไบต์ การ checksum สามารถที่จะใช้ตรวจหาความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก หรือไม่ก็ใช้สำหรับการแก้ความผิดพลาดแบบ single error ในด้านจุดประสงค์ของการทดสอบและการมอนิเตอร์ ก็สามารถใช้ HEC ในการกำหนด line quality ได้โดง่าย

Generic Fow Control ฟิลด์ generic flow control เกิดขึ้นเฉพาะในเซล ณ User-Network-Interface หรือ UNI เท่านั้น จุดประสงค์พื้นฐานของตัว generic flow control ก็เพื่อบริการการวัด (metering) และควบคุฒการไหลเข้าของข้อมูลก่อนเข้าสู่เครือข่าย ATM เพราะเครือข่าย ATM ไม่บริการให้มีกระบวนการ store-and-forward bufferingขอบคุณ แหล่งที่มา ...
href="http://www.itwizard.info/technology/telecom/short_intro_atm.html">

No comments: