Friday, March 16, 2007

Storage Area Network ; SAN

ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
จากการเพิ่มขึ้นของกลุ่มเครือข่ายย่อยๆ ในเครือข่ายหนึ่งๆ ทำให้ปริมาณข้อมูลในเครือข่ายมากขึ้น เครือข่ายแบบเดิมคือ แบบ Server – Storage ที่ใช้ parallel Small Computer Interface (SCSI) bus ซึ่งเป็นตัวเชื่อมต่อของ server – storage บน LAN ทำให้เกิดข้อจำกัดบนเครือข่ายของอุปกรณ์เก็บข้อมูล และการสำรองข้อมูลของเครื่องแม่ข่ายทำให้เกิดการลดแบนด์วิธที่ให้บริการแก่เครื่องลูกข่าย
SAN ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างไร
การรวมโมเดลของ LAN เข้ากับแก่นหลักของชุดเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องแม่ข่ายและความสามารถของอุปกรณ์เก็บข้อมูล ทำให้ SAN สามารถขจัดปัญหาคอขวดของแบนด์วิธ และข้อจำกัดของความเสถียรที่มีในสถาปัตยกรรมของ SCSI bus

วิวัฒนาการระบบการจัดเก็บข้อมูลของserver
1. Server-Attached Storage (SAS) หรือ Bus-Attached Storage ดำเนินการผ่าน Server เริ่มแรก central host Storage processor สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ข้อมูลต่างๆได้โดยผ่านทางช่องสัญญาณ (channel) ตัวประมวลผลกลาง (central processor) จะจัดการโหลด ในขณะที่ตัวประมวลผลอินพุท / เอาท์พุท (I/O processor) ภายในเมนเฟรมจะส่งและรับข้อมูลจากอุปกรณ์สำรองข้อมูลหลายๆตัวได้ในเวลาเดียวกัน นี่เป็นขั้นแรกของการนำไปใช้อย่างชาญฉลาดภายในกระบวนการขนถ่ายข้อมูล สถาปัตยกรรม Server- Attached Storage ได้ครอบคลุมมาเป็นเวลาหลายปีจาก Storage processor channel สู่ PC Server bus slot และadapter

2. Network- Attached Storage (NAS) Lacal Area Network (LAN) เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลาถัดมาและช่วยในการใช้แฟ้มข้อมูลร่วมกันระหว่างกลุ่มของ desktop microcomputer เมื่อเร็วๆนี้ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า LANs เป็นขั้นตอนที่สำคัญในเรื่องการกระจายซึ่งก็คือระบบ client/server ระบบ client/server ขนาดใหญ่ที่ถูกสร้างขึ้นในเวลานั้นเป็น LANs ที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่รวมทั้ง Wide Area Network (WANs) ด้วย จึงเกิดความคิดที่จะใช้ microcomputer ราคาถูกและ disk storage ราคาถูกแทนการใช้ central computer ที่มีราคาแพง

3. Storage Area Network(SAN) SAN เป็นเครือข่ายการทำงานในระดับสูง เพื่อขนย้ายข้อมูลระหว่าง server ต่าง ๆ และทรัพยากรการสำรองข้อมูลซึ่งต่างกับ Network-Attached Storage (NAS) ซึ่งเครือข่ายที่แยกออกจากกันได้ถูกเตรียมเพื่อหลีกเลี่ยงการขนย้ายข้อมูลที่ขัดแย้งกันระหว่าง client และserver บน traditional messaging network
Fibre Channel based SAN ได้รวมการทำงานที่มากขึ้นของ I/O channel และประโยชน์ของเครือข่าย (การเชื่อมต่อและระยะทางของเครือข่าย) ที่ใช้ส่วนประกอบทางเทคโนโลยีเครือข่ายที่คล้ายคลึงกัน เช่น router, switch และ gateway





SAN คืออะไร
ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN
1. SAN ไม่ใช่ระบบจัดเก็บข้อมูลภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์
SAN จะติดตั้งอยู่หลังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่อยู่ภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ไม่ว่าจะ มีความจุเท่าใด หรือบนเครือข่ายจะมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์กี่ตัว ยังไม่ถือว่าเป็นระบบ SAN ระบบ SAN เป็นระบบที่สามารถขยายขีดความสามารถ รวมทั้งขอบข่ายการทำงานที่สูง เนื่องจากในทางทฤษฎีแล้ว SAN สามารถรองรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้นับพัน แต่จะมีข้อจำกัดที่จำนวนพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ของฮับ และ สวิตซ์ รวมทั้งเงินทุนในการจัดทำระบบ
2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือเครือข่าย
การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรือ อินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบแลน จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก workstation ต่างๆบนแลน จะต้องเข้ามาขอแบ่งใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบแลนที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง
3. ใช้การเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel
การเชื่อมต่อระบบเครือข่ายแลนทั่วไปที่เป็นระบบบัสจะเห็นได้ว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ทุกตัวมีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่ายแลน ขณะที่อีกด้านหนึ่งของเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีการเชื่อมต่อกับระบบการเชื่อมต่ออีกแบบหนึ่ง ซึ่งเชื่อมต่อร่วมกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อแบบนี้ มีรูปแบบหลายประการ เช่นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน แบบ Star โดยระบบเชื่อมต่อแบบนี้ จะใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Fiber Channe
การเชื่อมต่อที่ใช้เทคโนโลยีที่ Fiber Channel จะเห็นได้ว่า เป็นการเชื่อมต่อเฉพาะแบบที่ไม่ใช่ระบบแลน อุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อกันภายใต้การเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel นี้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่าง High – End Disk Array อุปกรณ์ JBOD Tape Libraries และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเชิงแสง (Optical Storage Device) โดยที่อุปกรณ์เหล่านี้เชื่อมต่ออยู่กับฮับ, สวิตซ์ หรือบริดจ์ ซึ่งเป็นระบบ Fiber Channel
ลักษณะที่แสดงว่าเป็นระบบ SAN
- อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลอยู่หลัง server
- อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลเชื่อมต่อระหว่างกัน
- Server ต่างๆมีการเชื่อมต่อกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกกว่า Storage Pool
- มีการเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel (ใช้สาย Fiber Optic และใช้ FC Host Adapter)
- มีการใช้ฮับ หรือสวิตซ์ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล
- มีเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่หลากหลาย



การทำงานของ SAN แบ่งเป็น 3 ทาง คือ
1. server to storage เป็นรูปแบบที่ใช้มาตั้งแต่อดีตโดยการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์เก็บข้อมูลกับserver มีข้อดีคืออุปกรณ์เก็บข้อมูลตัวหนึ่งๆ จะสามารถถูก access โดย server ได้หลายตัว
2. server to server สามารถติดต่อสื่อสารระหว่าง server ด้วยความเร็วสูง
3. storage to storage ความสามารถในข้อนี้เป็นสิ่งที่เพิ่มเข้ามาทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข้อมูลได้โดยไม่ผ่าน server ด้วยเหตุนี้ทำให้เราสามารถลดการทำงานของ server ลงได้

สถาปัตยกรรม Fiber Channel
การทำงานของ SAN ในทุกวันนี้ต้องมีการใช้ Fiber Channel เป็นพื้นฐาน เนื่องจาก Fiber Channel เป็นเทคโนโลยีที่มีความเร็วสูง ทั้งยังมีการส่งผ่านข้อมูลจาก node หนึ่งๆ ในเครือข่ายไปยัง node อื่นๆได้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันมีอัตราการส่งผ่านข้อมูลอยู่ที่ 100 MB/sec ส่วนอัตราการส่งผ่านข้อมูลที่ระดับความเร็ว 200 MB/sec และ 400 MB/sec ก็ผ่านการทดสอบแล้ว และคาดว่าจะนำมาใช้ในไม่ช้า
แนวคิดพื้นฐานของ Fiber Channel
1.Physical layer
Fiber Channel มีทั้งหมด 5 layer ซึ่ง 0 จะถือเป็น layer ชั้นต่ำสุด และ layer 0ถึง 2 จะอยู่ในชั้น Physical layer
- FC-0 จะเป็นตัวกำหนดอุปกรณ์ทากายภาพ และอัตราการส่งผ่านข้อมูล
- FC-1 จะเป็นส่วนของการแปลความหมาย เป็นการเข้าจังหวะเพื่อส่งข้อมูล
- FC-2 จะเป็นส่วนของ protocol มีโครงสร้างลักษณะเฉพาะตัว สนับสนุนการทำงานแบบ point-to-point และ switched topologies

2.Upper layers
Fiber Channel เป็นบริการที่ใช้เพื่อเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่าง node ที่มีความรวดเร็วและเชื่อถือได้ layer อีก 2 layer ที่อยู่ในชั้นที่สูงขึ้นนี้เป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานของ Fiber Channel
- FC-3 จะเป็นการกำหนดบริการโดยทั่วไป คือ multicast สามารถทำการส่งข้อมูลเพียงครั้งเดียว ไปยังปลายทางได้หลายแห่ง
- FC-4 จะเป็นตัวกำหนด protocol ที่สูงขึ้นไปอีก คือ FCP (SCSI), FICON, และ IP

3.Topologies
การเชื่อมต่อระหว่าง Node ของ Fiber Channel จะมี topologies ทั้งสิ้น 3รูปแบบ คือ
- Point-to-Point จะเป็นการเชื่อมต่อกันระหว่าง 2 node และ bandwidthจะถูกใช้เพียง 2 nodeเท่านั้น
- Loop การเชื่อมต่อแบบนี้ bandwidth จะถูกใช้ร่วมกันระหว่างทุก node ที่ต่อเชื่อมกันภายใน loop ภายใน loop จะมีสายเชื่อมต่อกัน node-to-node ซึ่งถ้าหาก node ใด node หนึ่งไม่ทำงาน ก็จะทำให้ loop นี้ไม่ทำงานไปด้วยแต่ก็สามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้ hub เข้าช่วย
- Switched เป็นการเชื่อมต่อหลายๆ node เข้าด้วยกัน ซึ่ง switches ก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ circuit switches และ frame switches Fiber Channel SAN ใช้เป็นโครงสร้างหนึ่งเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ และเป็นโครงสร้างหนึ่งที่ง่ายเท่ากับการเชื่อมต่ออุปกรณ์สองตัวด้วยสายเคเบิ้ลสายเดียว (single cable)

Wednesday, March 14, 2007

HDTV วิวัฒนาการคนดูทีวี

HDTV หรือ High Definition Television เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ทำให้ภาพสัญญาณโทรทัศน์คมชัดขึ้น แค่คำว่าคมชัดขึ้นหลายๆคนคิดว่าไม่เห็นมีอะไรแปลก แต่จริงๆแล้วเบื้องหลังมันมีอะไรที่มากกว่านั้นมาก การมาของ HDTV เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการโทรทัศน์ นอกจากสัญญาณภาพและเสียงที่คมชัดขึ้นแล้ว สิ่งที่ติดมาด้วยคือการแบ่งช่องสัญญาณแบบใหม่, เทคโนโลยีในการเข้ารหัสสัญญาณแบบใหม่, และวิธีการส่งสัญญาณแบบใหม่ สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆตามมาอีกเป็นจำนวนมาก การแบ่งช่องสัญญาณแบบใหม่ ทำให้มีช่องสัญญาณมากขึ้น ทำให้เรามีโปรแกรมได้ดูมากขึ้น และทำให้สัญญาณที่ส่งมาไม่ได้มีแค่ภาพและเสียงอีกต่อไป แต่มันมี Data ส่งมาด้วย Data ที่ส่งมาพร้อมสัญญาณภาพและเสียงมี 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่
Service Information เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Programme Guide หรือตารางรายการนั่นเอง มันสามารถประยุกต์ใช่ร่วมกับ DVR(Digital Video Recorder) ทำให้เราสามารถดูโปรแกรมที่เราอยากดูได้ในเวลาที่เราอยากดู ตามปกติแล้วเราจะต้องดูรายการที่เราอยากดูในเวลาที่มันออกฉาย แต่ด้วยส่วนผสมระหว่าง EPG(Electronic Programme Guide) และ DVR แล้ว เราไม่จำเป็นต้องมานั่งเฝ้าทีวีเพื่อดูรายการโปรดอีกต่อไป เราเพียงแต่เลือกว่าเราอยากดูโปรแกรมอะไร และเมื่อถึงเวลาที่มีรายการนั้น DVR จะทำการอัดรายการที่เราอยากดูตาม EPG ที่มี ทำให้เราสามารถดูรายการโปรดได้ทุกเวลาที่เราต้องการ นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งใน ประโยชน์ที่คุณจะได้รับจากส่วนผสมของ DVR และ EPG มันสามารถทำได้มากกว่านั้นอีกมาก ไม่ว่าจะช่วยแนะนำรายการที่คิดว่าเราน่าจะชอบ หรือตามอัดรายการชุดที่เราอยากดู หรือช่วยให้เราหยุดภาพหรือกรอกลับภาพ Live TV ได้ เราไม่ต้องรีบเข้าห้องน้ำเพราะกลัวพลาดช็อตสำคัญ เราไม่ต้องทะเลาะกับสามีหรือภารยาหรือลูกๆเพื่อแย่งดูรายการที่ต้องการอีกต่อไป ฯลฯ

Application ส่วนนี้ทำให้รายการทีวีที่เราดูไม่ใช่การสื่อสารทางเดียวอีกต่อไป แต่เราสามารถโต้ตอบกับรายการทีวีนั้นได้ด้วย ลองนึกสิว่าเวลาคุณเห็นโฆษณาพิซซ่าแล้วเกิดอยากกิน เราสามารถกดปุ่ม Buy บน remote control หลังจากนั้น 30 นาทีก็มีคนมาส่งพิซซ่าที่หน้าบ้านทันที แล้วค่าพิซซ่าก็จะอยู่ในบิลของเคเบิลทีวี หรือเวลาดูรายการเทนนิสวิมเบอร์ดัน อยากดูสถิติการตีของการแข่งขันผลที่ผ่านมาของผู้แข่งแต่ละคน เพียงกดปุ่ม More Infor บน remote คุณก็จะได้ข้อมูลเหล่านั้นบนหน้าจอเดียวกันกับที่ดูรายการแข่งขันได้ทันที หรือจะเป็นการเล่นเกมโชว์ที่บ้านผ่าน Remote Control หรือจะเป็นการ Chat กับเพื่อนๆพร้อมกันกับดูละครเรื่องโปรด

ตัวอย่างข้างต้นเกิดขึ้นจริง ที่ อเมริกาและยุโรป ที่ไต้หวัน,เกาหลี และญี่ปุ่น กำลังจะเกิด อีกไม่นานก็คงจะประเทศไทย

เทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของเราไม่รู้ตัว อีกหน่อย Application ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อาจจะไม่ใช่ Web Application อีกต่อไป แต่เป็น TV Application เตรียมความพร้อมให้ตัวเอง กับเทรนที่กำลังจะเกิดขึ้น ในความเห็นของดิฉันอีก 2-3 ปี TV application จะเป็นสิ่งที่มาแรงและอาจแรงเกิน Web เพราะเปอร์เซ็นของคนที่มี TV ที่บ้านกับเปอร์เซ็นของคนที่มี Computer ที่บ้านมันต่างกันมากเหลือเกิน

เทคโนโลยีและมาตรฐานที่เราควรศึกษาได้แก่มาตรฐาน DVB หรือ Digital Video Broadcast และ MHP หรือ Mutimeida Home Platform ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆมาตรฐานของ DVB ข่าวดีคือ MHP นั้น base on Java technology มันมี API ให้ใช้เพื่อเขียนโปรแกรมบน TV มากมาย

Broadband เทคโนโลยีที่น่ารู้

'Broadband' คือ เทคโนโลยีการส่งข้อมูลความเร็วสูง ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์ จะทำให้ประสบการณ์ในการท่องโลกอินเตอร์เน็ต มีชีวิตชีวาเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยประสิทธิภาพในการรับข้อมูลขนาดใหญ่ จึงทำให้ฝันของนักท่องอินเตอร์เน็ตเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รูปภาพที่มีความละเอียดสูง เล่นเกมส์ออนไลซ์ หรือแม้กระทั่งการดูหนังฟังเพลงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เทคโนโลยี Broadband ผ่านดาวเทียม เป็นการนำเทคโนโลยีขั้นสูง 2 ด้านมาผสมผสานเพื่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยเทคโนโลยี
จะทำให้ข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่การให้บริการ ในลักษณะของบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ตหมดไป เนื่องจากด้วยเทคโนโลยีดาวเทียม ทำให้สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว ยังสามารถนำมาประยุกต์ในการถ่ายทอดสด หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ โดยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายดาวเทียม (IP Broadcasting via Satellite) ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูล หรือรับชมสัญญาณภาพ และเสียงในลักษณะของมัลติมีเดีย
(Multimedia) ได้

iPTV คือ การให้บริการที่ทำให้ผู้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง สามารถดูรายการประเภท Multimedia ผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ภายในประเทศได้ ( รองรับด้วยระบบ Multimedia Streaming Data Base ป้องกันการ Download เพลง ) โดยใช้การส่งนำสัญญาณผ่านดาวเทียมไทยคมที่ครอบคลุม 76 จังหวัดทั่วประเทศ
ไทยมีประโยชน์ในการใช้งานได้หลากหลายโดยมีคุณสมบัติหลักๆดังนี้คือ

1. สามารถใช้ประโยชน์ได้จากศักยภาพในด้านการนำเสนอเนื้อหาด้าน multimedia หรือการที่เป็นช่องทางให้
สามารถดูรายการต่างๆ ผ่านเครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงได้อีกสื่อหนึ่ง โดยสามารถใช้ทั้งแบบดูรายการได้ตามที่ต้องการเมื่อไรก็ได้หรือจะเลือกดูแบบที่จัดเป็นเหมือนผังรายการของสถานีโทรทัศน์ทั่วไปก็ได้
ด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระบบ iPTV และช่องสัญญาณขนาดใหญ่ของดาวเทียมนี้เอง ที่ทำให้สามารถให้บริการที่คล้ายกับการออกอากาศของสถานีโทรทัศน์ย่อยๆ ได้หลายสิบช่อง (Multi channel cable TV system) ประกอบกับการที่ระบบออกอากาศผ่านทาง IP network หรือ เครือข่ายบรอดแบนด์ความเร็วสูงนี้ ทำให้สามารถสร้างสรรรายการแบบการให้บริการโทรทัศน์ 2 ทาง (Interactive TV) ที่ผู้ชมสามารถตอบสนองหรือค้น
หาข้อมูลเพิ่มเติมกับรายการที่ตนดูอยู่ ณ.ขณะนั้นๆได้
2. เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ที่ใช้ในการ download ข้อมูลขนาดใหญ่ได้รวดเร็ว (ใช้ระบบ Turbo Interne
ในภาคการรับข้อมูลความเร็วสูง ส่วนภาคการเรียกข้อมูลจะเรียกผ่าน Modem และ downloadได้เฉพาะข้อมูลที่ผู้
ผลิตอนุญาต)

3. ใช้เป็นระบบอินเตอร์เน็ตสนับสนุนการทำงานภายในองค์กร โดยเฉพาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ( SMEs )

ลักษณะการทำงานของ iPTV

iPTV เป็นอีกหนึ่งบริการจาก ซีเอส อินเตอร์เน็ต ที่ให้บริการในลักษณะของบรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศเป็นรายแรก และรายเดียว iPTV เป็นอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ผ่านช่องสัญญาณของดาวเทียมไทยคม ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการ สามารถเรียกดูข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ระดับความเร็ว 256 Kbps ผู้ใช้บริการ สามารถเรียกข้อมูลประเภทมัลติมีเดีย หรือข้อมูลขนาดใหญ่ จากอินเตอร์เน็ตได้เร็วกว่าการเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม 33.6 Kbps ถึง 8 เท่า วันนี้คุณสามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตได้แล้วทั่วประเทศ 76 จังหวัด (ในพื้นที่ที่มีสายโทรศัพท์เพื่อติดต่อเข้าศูนย์ของ ซีเอส อินเตอร์เน็ต)

การทำงานของระบบ Turbo
เพียงผู้ใช้บริการมีโมเด็มต่ออินเตอร์เน็ต ผ่านสายโทรศัพท์ปกติ พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เทอร์โบ (USB) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) และทำการเชื่อมต่อสายสัญญาณไปยังจานดาวเทียมขนาดเล็ก (60 ซม.) เมื่อผู้ใช้บริการเริ่มทำการติดต่อเข้าศูนย์บริการของ ซีเอส อินเตอร์เน็ต ด้วยอุปกรณ์โมเด็มผ่านทางสายโทรศัพท์ปกติ ซึ่งเมื่อผู้ใช้ได้ทำการเรียกข้อมูล (Request) จากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คำสั่งดังกล่าว จะถูกส่งผ่านมายังศูนย์ของซีเอส อินเตอร์เน็ต เพื่อส่งต่อไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลาง ในส่วนของข้อมูลขากลับที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกลาง จะถูกส่งผ่านมายังสถานีดาวเทียมไทยคม เพื่อทำการส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านทางช่องสัญญาณดาวเทียมตรงไปยังผู้ใช้บริการ ด้วยลักษณะการทำงานดังกล่าว จะทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูลขนาดใหญ่ และรวดเร็ว เนื่องจากไม่ต้องประสบปัญหาในข้อจำกัดเรื่องระยะทาง หรือระบบเครือข่ายภาคพื้นดิน (แบบสาย หรือ Land Line)
ในกรณีของการใช้งานในลักษณะขององค์กร ที่จำเป็นจะต้องมีการใช้งานอินเตอร์เน็ตเชื่อมต่อพร้อมๆ กันหลายจุด ผู้ใช้บริการสามารถประยุกต์ระบบ iPTV เพื่อรองรับการใช้งานดังกล่าวได้ โดยการติดตั้งอุปกรณ์เทอร์โบในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดให้เป็นเกตย์เวย์ (Gateway) พร้อมทำการติดตั้งโปรแกรมประเภทพร๊อกซี (Proxy) เพื่อช่วยในการใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบหลายคน

ประโยชน์ของ iPTV ใช้เทคโนโลยีของอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม (แบบทางเดียว) ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถรับข้อมูลขนาดใหญ่ ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้เร็วกว่าการใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโมเด็มธรรมดาถึง 8 เท่า
- รองรับการใช้บริการอินเตอร์เน็ตที่เป็นมาตรฐาน - Http, FTP, SMTP (POP3), IRC, ICQ และอื่น ๆ
- รองรับการเชื่อมต่อแบบองค์กร โดยสามารถประยุกต์การใช้งานเป็น Proxy Server ซึ่งจะสามารถรองรับการเชื่อมต่อ และใช้งานแบบพร้อมๆ กันในองค์กรได้ 5-8 เครื่อง
- สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศครอบคลุม 76 จังหวัด (ในพื้นที่ที่มีสายโทรศัพท์ให้บริการเพื่อเชื่อมต่อเข้าศูนย์ของ CS Internet)
- สนับสนุนด้วยระบบบริหารเครือข่าย และช่องสัญญาณที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้ใช้บริการ สามารถใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้เต็มประสิทธิภาพ
- รองรับการใช้บริการในลักษณะการแพร่สัญญาณภาพหรือข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Data Broadcasting) ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเลือกรับสัญญาณในรูปแบบของข้อมูล ภาพ และเสียง ขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว

Channel Technology

Channel
channel รับ stream จาก converter แล้วส่งไปยังปลายทาง เช่น ระบบเครือข่าย,ไฟล์ เป็นต้น คุณอาจเรียก channel ว่าเป็น output ก็ได้ ในปัจจุบันมี channel ที่รองรับอยู่ 2 ชนิด คือ network และfile หมายเหตุ ในตอนนี้ VLS สามารถรองรับเพียง 1 output ต่อ stream ทำให้คุณไม่สามารถใช้ stream บนระบบเครือข่ายไปพร้อมๆกับการเขียนลงไปในไฟล์ได้ network output มีการปรับแต่งค่าที่มากกว่า กล่าวคือคุณสามารถเลือกว่าส่วนติดต่อที่คุณต้องการใช้และสามารถระบุหมายเลขไอพีของต้นทางและปลายทางได้

ATM ในด้านโทรคมนาคมมาจากคำว่า Asynchronous Transfer Mode เป็นเทคโนโลยีที่ประกอบด้วยการจัดการด้านการขนส่ง (tATM เป็นเทคโนโลยี "การถ่ายทอดเซล" หรือ "cell relay" technology
ATM หมายถึงทราฟฟิกที่มีการขนส่งแพ็กเกตที่มีความยาวคงที่ขนาดเล็กซึ่งเรียกกันว่า เซล โดยมีขนาดเป็น 53 ไบต์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัวหรือ header ขนาด 5 ไบต์ และส่วนข้อมูลหรือ payload 48 ไบต์ เซลที่มีความยาวคงที่มีข้อดีกว่าเทคโนโลยีแพ็กเกตสมัยก่อน
ข้อดี คือ เซลขนาดสั้นสามารถจะสับเปลี่ยนช่องทาง (swihtced) โดยใช้ฮาร์ดแวร์ได้ จึงทำให้ ATM สามารถถูกสวิทช์ (สับเปลี่ยนช่องทาง) ได้อย่างรวดเร็ว การหน่วงของการจัดคิว (queueing delays) ที่ยาว (เกิดจากเฟรมที่มีขนาดแปรเปลี่ยนได้) สามารถจะลด wait time ลงได้ด้วยรูปแบบเซลขนาด 53 ไบต์ อันซึ่งจะทำให้สามารถขนส่ง voice และ video ซึ่งเป็นแอพพลิเคชันแบบ realtime (time-dependant) ได้
Time Domain Multiplexing

ระบบ TDM(ถ้าจัดให้เป็นโหมดของการส่งก็จะเป็น Synchronous Transfer Mode หรือ STM)เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth)ซี่งจะใช้งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีทราฟฟิกเป็นแบบ bursty traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คือ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน) แล้วจะสิ้นเปลืองทรัพยาการเครือข่ายเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นการจัดลำดับชั้นของแบนด์วิดธ์ก็หยาบมาก อย่างมาตรฐานของยุโรปก็มีระดับของการมัลติเพล็กซ์เป็น 2.048, 8.448, 34.368 M เป็นต้น ถ้าต้องการใช้งานกับการเชื่อมต่อแบบ Ethenet-to-Ethernet ซึ่งเป็นสัญญาณแบบ burst ขนาด 10 M จะต้องเสียค่าใช้จ่ายแพงคือต้องเช่าแบนด์วิดธ์ขนาด 34 M (dedicated 34 M)

Packet Switching
เทคโนโลยีการส่งผ่านแบบแพ็กเกต เป็นการมัลติเพล็กซ์ของเฟรมบน transport medium ในเชิงสถิติ โดยเป็นเทคโนโลยีที่ดีสำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ burst ที่อัตราของบิตมีการเปลียนแปลง (Variable Bit Rate : VBR) แต่สำหรับ voice และ video ซึ่งมีอัตราบิตคงที่ ถ้าส่งผ่าน Packet Swicthing สามารถจะทำให้เกิดการหน่วงชนิดคงที่ (fixed delay) ค่อนข้างมาก พร้อมกับการหน่วงของการจัดคิวที่ไม่แน่นอน (uncertain queueing delays)

ระบบ TDM ที่ได้กล่าวมาได้ถูกออกแบบมาสำหรับ voice transport และใช้งานได้ผลไม่ดีนักสำหรับ data transport ส่วน Packet Switch ก็ได้ถูกออกแบบมาสำหรับ data transport และยังมีความสามารถอยู่บ้าง (less capable) สำหรับการขนส่งข้อมูลแบบ CBR

ATM Cells
Looking at ATM from the Inside-Out
เราได้อธิบายเรื่อง ATM ด้วยภาพไปสองสามประเด็นแล้ว ถึงตอนนี้เราก็มาดูให้ลึกลงไปอีก แบบที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า from the inside-out คือมองจากด้านในออกไปข้างนอก ซึ่งมีอยู่สิ่งหนึ่งที่ใช้แบ่งแยก ATM อย่างแม่นยำคือเซล แต่ละฟิลด์ของ cell header จะนำเราไปสู่ความเข้าใจเรื่องการขนส่งเซลและการ switching ของเซล


VPIs/VCIs คือ ฟิลด์ VPI และฟิลด์ VCI ซึ่งบรรจุด้วย Virtual Path Identifier และ Virtual Channel Identifier ตามลำดับ เหตุที่ Path และ Channel เป็น Virtual ก็เพราะเครือข่าย ATM ให้บริการเป็น transport และ switching ที่สามารถจำลองเป็น TDM Constant bit rate channel และ Packet Switched Variable Bit Rate Channel ได้ โดย Path และ Channel จะถูกแยกออกจากกันเพราะเครือข่าย ATM จะให้บริการสำหรับการ switching เป็นสองวิธีคือ Channel จะขนส่ง customer data ในขณะที่ Path จะขนส่ง group of channel โดย customer รายหนึ่ง ๆ สามารถเชื่อมโยง (channel) ระหว่างสอง fixed site ภายใน sigle path ได้ ซึ่งจะยอมให้เครือข่าย ATM ไม่สนใจจำนวนมากมายของ channel ดังนั้นจึงทำให้เป็บบริการที่ใช้ต้นทุนต่ำ ในรูปข้างล่างเป็น DS3 ATM Transport ที่แสดงความสัมพันธ์ของ DS3 transport pipe, DS3 framing, PLCP framing, VPIs, และ VCIs

VPI/VCI Switching การสวิทชิ่งของ ATM จะกระทำระหว่างเส้นทางของ incoming VPI/VCIs กับ outgoing VPI/VCIs ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ตารางเร้าติ้งทางฮาร์ดแวร์ (hardware-based lookup table) โดย incoming cell จะมีค่า VPI/VCIs ของมันเองที่ถูกเขียนทับด้วยค่าใหม่ แล้วเซลก็จะถูกจัดเส้นทาง (routed) ไปยังพอร์ดเอาท์พุทตามที่ต้องการ ซึ่งจะเห็นว่า VPI/VCIs มีลักษณะสำคัญทางโลคอล (local significance) เท่านั้น เพราะจะมีการเปลี่ยนแปลง VCI/VPIs ที่แต่ละ switch point ดังนั้นจะทำอย่างไรให้ customer's data ไปถึงปลายทางได้ ? เครือข่าย ATM ในยุดก่อนนั้น virtual paths และ channels จะเป็นแบบถาวร (Permanent Virtual Channels or PVCs) โดย PVC จะถูกสร้างขึ้นในกระบวนการการจัดหา (provisioning process) ที่ประกอบด้วยการแก้ไข routing table ของแต่ละ ATM Switch ใน data path ที่บริการการเชื่อมต่อตามที่ต้องการ เครือข่าย ATM ในยุคหลังจะใช้กระบวนการสัญญาณเรียกขาน (signaling procedures) ในการสร้าง Switched Virtual Channel หรือ SVCs ที่สามารถ set up หรือ taken down เมื่อต้องการ ไม่ว่าจะเป็น PVC หรือ SVC ส่วนของ ATM channel ทั้งหมดจะเป็นการเชื่อมต่อแบบ connection oriented ซึ่งหมายถึงว่า "connection" จะต้องถูกสร้าง (สถาปนา) ในเครือข่าย ATM ขึ้นมาก่อนจึงจะส่งข้อมูลได้

Header Error Control เซลส่วนหัวของเอทีเอ็ม (ATM cell header) ถูกสร้างขึ้นอย่างเอาจริงเอาจังสุด ๆ (extremely robust) เพื่อใช้สำหรับการขนส่งโดยฟิลด์ Header Error Control (หรือ HEC) ฟิลด์นี้จะเป็น 8 บิต ที่ทำหน้าที่ checksum สำหรับส่วนหัวอีก 4 ไบต์ การ checksum สามารถที่จะใช้ตรวจหาความผิดพลาดที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมาก หรือไม่ก็ใช้สำหรับการแก้ความผิดพลาดแบบ single error ในด้านจุดประสงค์ของการทดสอบและการมอนิเตอร์ ก็สามารถใช้ HEC ในการกำหนด line quality ได้โดง่าย

Generic Fow Control ฟิลด์ generic flow control เกิดขึ้นเฉพาะในเซล ณ User-Network-Interface หรือ UNI เท่านั้น จุดประสงค์พื้นฐานของตัว generic flow control ก็เพื่อบริการการวัด (metering) และควบคุฒการไหลเข้าของข้อมูลก่อนเข้าสู่เครือข่าย ATM เพราะเครือข่าย ATM ไม่บริการให้มีกระบวนการ store-and-forward bufferingขอบคุณ แหล่งที่มา ...
href="http://www.itwizard.info/technology/telecom/short_intro_atm.html">